BEHAVIOR
 
 

เปลี่ยนภาษา ::ไทย / English

หน้าหลัก

กลไกการเกิดพฤติกรรม

พฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
     :: โอเรียนเตชัน
     :: รีเฟล็กซ์
     :: รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
     
พฤติกรรมการเรียนรู้
     :: Habituation
     :: Imprinting
     :: Trial and Error
     :: Conditioning
     :: Reasoning

พฤติกรรม กับพัฒนาการ
    ของระบบประสาท


การสื่อสารระหว่างสัตว์
     :: การสื่อสารด้วยท่าทาง
     :: การสื่อสารด้วยเสียง
     :: การสื่อสารด้วยการสัมผัส
     :: การสื่อสารด้วยสารเคมี
     :: การสื่อสารด้วยคลื่น
     :: การแผ่สนามแม่เหล็ก

เฉลยคำถามท้ายบท


 

ประเภทของพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด

          1. โอเรียนเตชัน (Orientation)
          2. รีเฟล็กซ์ (Reflex)
          3. รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง (Chain of reflex)

        2. รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง (Chain of reflex)

          เป็นพฤติกรรมที่ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยๆ หลายพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน เพราะไปกระตุ้นรีเฟล็กอื่นๆให้ทำงานต่อเนื่องกันจนเสร็จสิ้นภาระกิจหรือเป้าหมายของพฤติกรรมจึงจะหยุด แต่เดิมใช้คำว่า สัญชาตญาณ ( Instinct ) แต่เนื่องจากคำว่าสัญชาตญาณมีความหมายที่กว้างมาก ซึ่งอาจรวมไปถึงพฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิดทุกชนิด จึงไม่นิยมใช้ โดยรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง จะมีแบบแผนเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ถึงแม้พฤติกรรมนี้จะจัดเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด แสดงออกได้โดยไม่ต้องมีการเรียนรู้ แต่พฤติกรรมบางอย่างจะแสดงออกได้ เมื่อมีความพร้อมของร่างกายก่อน เช่น
การบินของนก ซึ่งนกแรกเกิดยังไม่สามารถบินได้ เป็นต้น

          ตัวอย่างของรีเฟล็กต่อเนื่อง เช่น

๐ การดูดนมของทารก
๐ การสร้างรังของนกและแมลง
๐ การชักใยของแมงมุม
๐ การกินอาหารของสัตว์แต่ละชนิด เช่น การแทะมะพร้าวของกระรอก
๐ การเกี้ยวพาราสีของสัตว์ต่างๆ
๐ การฟักไข่และเลี้ยงลูกอ่อนของสัตว์
๐ การกลิ้งไข่ของห่านเกรย์เลค (Greylag goose)
๐ พฤติกรรมในกลุ่มไบโอโลจิคัลคลิกส์ (Biological clock)
     - การออกหากินเวลากลางคืน
     - การจำศีล
     - การอพยพย้ายถิ่นของสัตว์

    

          การดูดนมของทารกจัดเป็นรีเฟล็กซ์ แบบต่อเนื่อง โดยการกระตุ้นจากสิ่งเร้าคือ ความหิว เมื่อปากได้สัมผัสกับหัวนม เป็นการกระตุ้นให้เด็กดูดนม และจะกระตุ้นให้เกิดการกลืนที่เป็น ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์
เมื่อเด็กยังไม่อิ่มก็จะกระตุ้นให้ดูดต่อไปอีก เด็กจึงแสดงพฤติกรรม การดูดนมต่อไปจนอิ่มจึงหยุดพฤติกรรมย่อย

รังของนกกรงหัวจุก

รังของนกขุนแผน

รังของนกอีแพรกแถบอกดำ

รังของนกกระจาบ

รังของนกกระสานวล

รังของนกขมิ้น

          จะเห็นได้ว่ารังของนกแต่ละชนิดจะมีรูปแบบ และรูปร่างของรังที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสปีชีส์ ซึ่งเป็นผลมาจากการแสดงออกของยีนที่ควบคุมพฤติกรรมของนกแต่ละชนิดนั้น

          การสร้างรังของนกจัดเป็นพฤติกรรมรีเฟล็กซ์ ต่อเนื่อง แต่มีทีมนักวิจัยที่ศึกษานกกระจาบหน้ากากดำ ในแอฟริกา ซึ่งรายงานการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการสร้างรังของนกดังกล่าวต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะรังของนกค่อนข้างมีรูปแบบ
ที่หลากหลาย โดยบางตัวสร้างรังเวียนขวา บางตัวสร้างรังเวียนซ้าย และยิ่งมีประสบการณ์จะทำหญ้าหล่นน้อยลง ซึ่งหากการสร้างรังของนก อาศัยประสบการณ์ แสดงว่าเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้
ที่มาของบทความวิจัย http://www.manager.co.th/ 

          การสร้างรังของแมลง
ก็มีรูปแบบที่แน่นอน แตกต่างกันไปตามแต่ละสปีชีส์ ตัวอย่างเช่น การสร้างรังของแตน มด ปลวก ต่อ และผึ้ง ดังภาพ

ภาพ รังแตน ภาพ รังมดแดง
ภาพ รังผึ้ง ภาพ รังต่อหัวเสือ

       

ภาพ การชักใยของแมงมุมสปีชีส์ Araneus diadematus
ที่มาของภาพ http://www.european-arachnology.org/esy/esy10/ 
     

          จากการศึกษาแมงมุมสปีชีส์ Araneus diadematus สามารถชักใยที่มีรูปแบบเป็นแบบแผนของสปีชีสได้์โดย ไม่ต้องเห็นวิธีการชักใยของแมงมุมตัวอื่นมาก่อน โดยทดลองจากเลี้ยงแมงมุมในหลอดแก้วตั้งแต่เกิด เมื่อพอนำออกมาจากหลอดแก้วพบว่าแมงมุมเหล่านั้นซักใยได้ตามแบบแผนของสปีชีส์ โดยไม่ต้องมีการเรียนรู้มาจากแมงมุมตัวอื่น
          นอกจากนี้ได้ทดลองศึกษาความสัมพันธ์ ของการแสดงพฤติกรรมกับการทำงานของสมอง โดยพบว่าแมงมุมที่ได้รับสารที่มีผลต่อการทำงานของสมองจะชักใยได้ไม่สมบูรณ์
          และพบว่าแมงมุมจะยังคงแสดงพฤติกรรมถึงแม้ว่าจะถูกทำลายต่อมสร้างเส้นใย แต่ไม่สามารถผลิตเส้นใยออกมาได้ 
          การซักใยของแมงมุมจัดเป็นรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด นักวิทยาศาสตร์จึงลงความเห็นว่าการแสดงพฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิดมีความสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง และ จะแสดงออกมาได้เมื่อมีสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสม (Releaser หรือ Sigh stimuli) เช่นตัวกระตุ้นในการชักใยของแมงมุมก็คือ ความต้องการอาหารของแมงมุม และสมองส่วนที่ควบคุมและเลือกตอบสนองกับตัวกระตุ้นการเกิดพฤติกรรม
ที่มีมาแต่กำเนิดเรียก  อินเนต รีลีซิ่ง แมคคานิซึม (Innate releasing mechanism) : IRM 

ภาพ พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีของสัตว์

 

ภาพ พฤติกรรมการฟักไข่ของไก่ พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกอ่อนของนก


        

ภาพ ห่านเกรย์เลค ภาพ พฤติกรรมการกลิ้งไข่ของห่านเกรย์เลค
(Greylag goose)

          พฤติกรรมการกลิ้งไข่ของห่านเกรย์เลคจะใช้จงอยปากแตะที่ไข่ แล้วค่อยๆเดินถ่อยหลังตะล่อมไข่เข้าสู่รังซึ่งจากการศึกษาและการสังเกตพฤติกรรม พบว่าห่านชนิดนี้จะแสดงพฤติกรรมการกลิ้งไข่ในรูปแบบเดียวกัน(Fix action pattern) โดยไม่ต้องเรียนรูู้มาก่อน

 

พฤติกรรมในกลุ่มไบโอโลจิคัลคลิกส์ (Biological clock) :: เป็นพฤติกรรมที่มีแบบแผนตามช่วงเวลา จะมีนาฬิกาในร่างกายเป็นตัวกำหนดซึ่งก็จัดไว้ในกลุ่มของรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง เช่น การออกหากินเวลากลางคืน ,
การจำศีล , การอพยพย้ายถิ่นของสัตว์

พฤติกรรมการออกหากินตอนกลางคืนของนกฮูก

 

พฤติกรรมการจำศีลของหนู

 

การอพยพของปลาแซลมอลเพื่อไปวางไข่

          การอพยพของปลาแซลมอน หลังจากหลายปีของการออกหาอาหารและอาศัยในทะเล พวกมันก็จะหาทางกลับไปยังแหล่งน้ำจืดแหล่งเดิมที่มันได้เติบโตขึ้นมาและพวกมันก็จะพร้อมใจกันไปใช้ชีวิตบั้นปลาย
และจบชีวิตที่นั่น จากการวิจัยหนึ่ง เสนอว่าปลาแซลมอนแปซิฟิกเกิดโดยมีสิ่งติดตัวที่เรียกว่า “แผนที่แม่เหล็ก (Magnetic map)” ซึ่งช่วยมัน ในการอพยพเดินทางกว่าพันกิโลเมตร โดย ทีมนักวิจัยกล่าวว่า ปลาเหล่านั้นอาจจะมีประสาทสัมผัสเกี่ยวกับ
สนามแม่เหล็กโลก ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เพราะว่าปลาที่ใช้ในการศึกษานี้ไม่เคยทำการอพยพมาก่อน
นักวิทยาศาสตร์คิดว่าปลาเหล่านี้ มีประสาทสัมผัสสนามแม่เหล็กมาแต่กำเนิดมากกว่าที่จะได้มาจากการฝึกฝนหรือการเรียนรู้
แหล่งที่มาของบทความ :: http://www.aroundscience.com/

          ทีมนักวิจัยเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเช่นเต่า ปลาฉลาม และวาฬอาจจะใช้เทคนิคเดียวกันนี้ในการเดินทางไปยังมหาสมุทรก็เป็นได้

 

การอพยพของนก

          เนื่องจากสัตว์แต่ละชนิดจะมี เส้นทางในการอพยพที่ แน่นอนและคงที่เสมอ (Fix action pattern)
ซึ่งเป็นลักษณะของพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด


   

เรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ